คริสต์ศตวรรษที่ 20 และอนาคต ของ การพลัดถิ่น

คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นศตวรรษของการพลัดถิ่นครั้งใหญ่หลายครั้ง ในบางกรณีเกิดจากการที่รัฐบาลตัดสินใจโยกย้ายกลุ่มผู้คนด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นเมื่อสตาลินดำเนินการขนย้ายประชากรเป็นจำนวนหลายล้านคนไปยังทางตะวันออกของรัสเซีย, เอเชียกลาง และ ไซบีเรีย ทั้งเพื่อเป็นการลงโทษและเพื่อเป็นการกระตุ้นความเจริญในบริเวณชายแดน การโยกย้ายถิ่นฐานบางครั้งก็เกิดขึ้นเพื่อเลี่ยงความขัดแย้งในการสงคราม หรือมีสาเหตุมาจากนโยบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเช่นหลังจากการยุติการเป็นอาณานิคมเป็นต้น

สงครามโลกครั้งที่สองและการสิ้นสุดของการเป็นอาณานิคม

การพลัดถิ่นของชาวเวียดนามหลังสงคราม

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นนาซีเยอรมนีก็เนรเทศและฆ่าชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เป็นจำนวนเป็นล้านคน ชาวยิวบางคนก็สามารถหนีการไล่ทำร้ายและสังหารไปยังยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาก่อนที่พรมแดนจะปิดลงได้ ในเวลาต่อมาชายยุโรปตะวันออกก็เดินทางหนีไปยังยุโรปตะวันตกเพื่อเลี่ยงจากการถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต[18] และรัฐบาลม่านเหล็กในประเทศต่างๆ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตและประเทศภายใต้ระบบพรรคคอมมิวนิสต์ที่รวมทั้งโปแลนด์ ฮังการี และ ยูโกสลาเวียก็เนรเทศผู้มีเชื้อสายเยอรมันผู้ที่ไปตั้งหลักแหล่งในประเทศเหล่านั้นมาเป็นเวลาเกือบสองร้อยปีออกจากประเทศเพื่อเป็นการแก้แค้นในการที่นาซีเยอรมนีเข้ารุกรานและพยายามผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี ผู้คนส่วนใหญ่ที่ถูกเนรเทศก็โยกย้ายกันไปทางตะวันตกแต่ก็มีจำนวนเป็นหมื่นที่โยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในสหรัฐอเมริกา

เมื่อมีการก่อตั้งอิสราเอลขึ้นเป็นรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1948 ชาวยิวก็กลับไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลให้เกิดชาวปาเลสไตน์จำนวน 750,000 คนกลายเป็นผู้พลัดถิ่น ปัญหานี้ยิ่งขยายตัวใหญ่ขึ้นหลังจากสงครามหกวันที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ในปัจจุบันผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ยังคงอยู่ในสภาพที่พลัดบ้านพลัดเมืองนานที่สุดในโลก

ในสมัยรัฐบาลเผด็จการของฟรันซิสโก ฟรังโก ระหว่าง ค.ศ. 1936 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1975 พลเมืองในแคว้นกาลิเซียที่ได้รับความกดดันทางตอนเหนือของสเปนก็โยกย้ายถิ่นฐานออกจากสเปนกันไปเป็นจำนวนมาก

การแบ่งแยกอินเดีย ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1947 ที่ทำให้ปากีสถานแยกออกเป็นประเทศใหม่ เป็นผลให้เกิดการโยกย้ายของประชากรระหว่างอินเดียและปากีสถานที่มีผลกระทบกระเทือนต่อประชากรทั้งสิน 12.5 คน ที่รวมทั้งการเสียชีวิตจากความขัดแย้งที่ประมาณกันว่าอาจจะเป็นจำนวนแสนถึงหนึ่งล้านคน ประชากรที่เดิมเป็นข้าแผ่นดินของบริติชราชก็โยกย้ายไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในสหราชอาณาจักร

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกาหลีกลายเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ชาวจีนจำนวนเป็นล้านก็หนีไปยังจังหวัดทางตะวันตกที่ไม่ได้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น (โดยเฉพาะในมณฑลเสฉวนและมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ และมณฑลส่านซีและมณฑลกานซูทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเกาหลีกว่า 100,000 อพยพข้ามแม่น้ำอาเมอร์เข้าไปยังรัสเซียตะวันออกเพื่อหนีจากการปกครองของญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง]

หลังจากปี ค.ศ. 1959 กองทัพปลดปล่อยของสาธารณรัฐประชาชนจีนก็เข้ารุกรานและยึดครองทิเบตที่เป็นผลให้ทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่และรัฐบาลต้องลี้ภัยไปตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย หลังจากนั้นก็เกิดการอพยพของชาวทิเบตครั้งใหญ่ลงไปทางใต้โดยไม่มีเอกสารติดตัวข้ามเทือกเขาหิมาลัยจนกระทั่งถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 และยังคงมีอยู่บ้างอย่างประปรายจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ประมาณกันว่าผู้พลัดถิ่นทิเบตที่ไปพำนักในประเทศต่างๆ มีด้วยกันราว 200,000 คนในจำนวนนั้นครึ่งหนึ่งพำนักอยู่ในอินเดีย, เนปาล และ ภูฏาน

สงครามเย็นและการก่อตั้งรัฐอิสระหลังการเป็นประเทศบริวาร

ระหว่างและหลังสมัยสงครามเย็นประชากรเป็นจำนวนมากอพยพออกจากบริเวณที่มีความขัดแย้งโดยเฉพาะจากประเทศที่กำลังพัฒนาไปยังประเทศต่างๆ

ความระส่ำระสายในตะวันออกกลางและในเอเชียกลางที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งของสองมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียตก่อให้เกิดกลุ่มผู้ลี้ภัยขึ้นเป็นจำนวนมากที่กลายมาเป็นการพลัดถิ่นระดับโลก ในปี ค.ศ. 1979 เมื่อสหภาพโซเวียตเข้ารุกรานอาฟกานิสถานที่ทำให้ผู้คนกว่า 6 ล้านคนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นที่ทำให้จำนวนประชากรที่เป็นผู้ลี้ภัยทั่วโลกทวีคูณขึ้นเป็นจำนวนมาก หรือในปี ค.ศ. 1979 เมื่อชาห์มุฮัมมัด เรซา ปาเลวีล่มก็มีผู้ที่เป็นฝ่ายเดียวกับพระเจ้าชาห์หนีออกจากอิหร่านกันเป็นจำนวนมาก

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อรัฐบาลเวียดนาม กัมพูชา และลาวล่ม ก็ก่อให้เกิดกลุ่มผู้ลี้ภัยจากประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมากที่บางส่วนก็หนีข้ามพรมแดนเข้ามายังประเทศไทย หรือ ล่องเรือเข้ามาที่เรียกกันว่า “ชนเรือ” (Boat people) ก่อนที่จะถูกส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในทวีปอเมริกาและยุโรป

ในแอฟริกาก็มีระลอกการอพยพลี้ภัยเกิดขึ้นหลายครั้งหลังจากสมัยอาณานิคมสิ้นสุดลง เช่นเมื่อยูกันดาขับไล่ชาวอินเดีย 80,000 คนออกจากประเทศในปี ค.ศ. 1972 หรือเมื่อมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่รวันดา (Rwandan Genocide) ในปี ค.ศ. 1994 ก็ทำให้ผู้คนต้องหลบหนีเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก หรือเมื่อสถานะการณ์ในZimbabweเริ่มเสื่อมทรามลงซิมบับเวก็ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้าไปในประเทศแอฟริกาใต้

ในอเมริกาใต้ผู้ลี้ภัยจากชิลีและอุรุกวัยก็พากันหลบนี้ไปตั้งหลักแหล่งในยุโรปกันเป็นจำนวนมากระหว่างสมัยการปกครองของรัฐบาลเผด็จการระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 จนถึง 1980 ผู้ลี้ภัยโคลอมเบียหนีออกจากประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 เพื่อหลบหนีความรุนแรงของเหตุการณ์ภายในประเทศและสงครามการเมืองที่เกิดขึ้นอันไม่หยุดยั้ง ในอเมริกากลางผู้ที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นก็มาจากนิการากัว, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, คอสตาริกาns and ปานามาผู้หลบหนีเพราะสภาวะทางเศรษฐกิจอันยากไร้


การพลัดถิ่นที่เกิดจากการโยกย้าย: ปัญหาโต้เถียง

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าการอพยพเพราะเศรษฐกิจ (Immigration) ที่เป็นกลุ่มใหญ่นอกประเทศของตนเองเป็นกลุ่ม “ผู้พลัดถิ่น” ที่มีประสิทธิภาพ[ต้องการอ้างอิง] เช่นกลุ่มชาวตุรกีในเยอรมนีที่เรียกว่า “แรงงานรับเชิญ” (Gastarbeiter), ชาวเอเชียใต้ในอ่าวเปอร์เชีย, ชาวฟิลิปปินส์ ทั่วโลก หรือชาวจีนในญี่ปุ่นชาวฮิสปานิค (Hispanic) หรือ ชาวลาติโน (Latino) ในสหรัฐอเมริกาบางครั้งก็เรียกว่ากลุ่ม “ผู้พลัดถิ่น” ใหม่ กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ก็ยังคงพยายามรักษาขนบประเพณีของตนเองไว้เช่นกลุ่มเม็กซิกัน-อเมริกัน, เปอร์โตริโก หรือ ชาวคิบัน-อเมริกันเป็นต้น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ผู้อพยพชาวเม็กซิโกส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อเข้ามาหางานที่ดีกว่าทำในสหรัฐอเมริกา บ้างก็ข้ามเขตแดนอย่างผิดกฎหมายการอพยพครั้งใหญ่ของสหรัฐก็ได้แก่การอพยพครั้งใหญ่ของชาวแอฟริกันอเมริกันจำนวน 6.5 ล้านคนจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือระหว่าง ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1970 เพื่อไปสนองความต้องการทางแรงงานของเมืองต่างๆ ที่ขยายตัวขึ้น และเพื่อหลบหนีจากบริเวณของประเทศที่ยังถือผิว ยังมีโอกาสที่จะถูกทำร้าย และ จากความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจของรัฐทางภาคใต้

นักประวัติศาสตร์ระบุกลุ่มผู้พลัดถิ่นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์พายุฝุ่น (Dust Bowl) ระหว่าง ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1936 ที่เป็นผลทำให้เกิดความแห้งแล้งอย่างรุนแรงและสร้างความหายนะให้แก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก ผู้อพยพเหล่านี้ส่วนใหญ่ไปตั้งหลักแหล่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย[ต้องการอ้างอิง]

องค์การผู้โยกย้ายถิ่นฐานนานาชาติ (International Organization for Migration) กล่าวว่าในปัจจุบันมีผู้โยกย้ายถิ่นฐานด้วยกันกว่า 200 คนทั่วโลก ยุโรปเป็นจุดหมายใหญ่ที่สุดสำหรับผู้อพยพโดยรับผู้อพยพทั้งสิ้น 70.6 ล้านคนใน ค.ศ. 2005 โดยมีอเมริกาเหนือเป็นอันดับสองรับผู้อพยพทั้งสิ้นกว่า 45.1 ล้านคน ตามด้วยเอเชียเป็นจำนวนเกือบ 25.3 ล้านคน แรงงานนอกถิ่นฐาน (migrant workers) ในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากเอเชีย[19]

ใกล้เคียง

การพลัดถิ่น การพลัดถิ่นของชาวไอริช การพลัดหลง (ชีววิทยา) การพลิกคว่ำของเรือข้ามฟากเกาหลีใต้ 2014 การพลังงานแห่งชาติ การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (การาวัจโจ) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การหลั่งน้ำอสุจิ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554

แหล่งที่มา

WikiPedia: การพลัดถิ่น http://www.biomedcentral.com/1471-2350/2/5 http://www.foxnews.com/wires/2008Dec02/0,4670,EUWo... http://highered.mcgraw-hill.com/sites/0072424354/s... http://www.merriam-webster.com/dictionary/diaspora http://www.worldbusinesslive.com/research/article/... http://www.millersville.edu/~columbus/data/art/AXT... http://mars.wnec.edu/~grempel/courses/wc1/lectures... http://www.kirmus.ee/baltic_archives_abroad_2006/p... //doi.org/10.1186%2F1471-2350-2-5 http://web.worldbank.org/WBSITE/EXTERNAL/WBI/WBIPR...